อุบัติเหตุ ของ รถไฟฟ้ามหานคร สายนัคราพิพัฒน์

เหตุล้อประคองรถหลุดร่วงลงถนน

วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2567 เวลาประมาณ 18.30 น. เกิดเหตุล้อประคองรถไฟฟ้า (Guide Wheel) ของสายสีเหลืองตกจากราง บริเวณระหว่างระหว่างสถานีศรีเทพา และสถานีศรีด่าน (ถนนเทพารักษ์ กม.3) ส่งผลให้รถแท็กซี่ของประชาชนได้รับความเสียหาย 1 คัน[11] ต่อมา อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล แถลงถึงผลการตรวจสอบ สาเหตุเกิดจากเบ้าลูกปืนล้อแตกซึ่งเกิดจากขั้นตอนการผลิตขบวนรถไฟฟ้าที่ไม่ได้คุณภาพ แม้ว่าขบวนรถยังสามารถวิ่งต่อได้ตามปกติ[12] เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้น อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล รวมถึงนอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล ผู้รับสัมปทานสายสีชมพู จะทำการตรวจสอบขบวนรถไฟฟ้าทุกขบวนเพื่อให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ ทั้งนี้อัลสตอมระบุว่าเหตุการณ์ดังกล่าว ถือเป็นเหตุครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้นในโลกของรถไฟฟ้าตระกูลอินโนเวีย โมโนเรล โดยครั้งแรกเกิดขึ้นที่ประเทศจีน

โดยในระหว่างการตรวจสอบ รถไฟฟ้ามหานคร สายนัคราพิพัฒน์ ประกาศปรับรูปแบบการเดินรถเป็นทุก ๆ 15 นาที/ขบวน และงดเว้นการจัดเก็บค่าโดยสารชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 3-5 มกราคม พ.ศ. 2567 และจะกลับมาเปิดให้บริการตามปกติตั้งแต่ 6 มกราคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป โดยอัลสตอมผู้ผลิตและผู้รับเหมาซ่อมบำรุงโครงการ จะดำเนินการเปลี่ยนชิ้นส่วนล้อประคองรถไฟฟ้าให้กับขบวนรถไฟฟ้าสายสีเหลืองใหม่ทั้งหมด 1,440 ชิ้นในขบวนรถไฟฟ้าทั้งหมด 30 ขบวน ซึ่งกระบวนการจะเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป โดยเน้นกลุ่มขบวนรถไฟฟ้าล็อตเดียวกับขบวนที่เกิดอุบัติเหตุก่อน[13]

เหตุวัสดุและเศษอะไหล่ร่วงหล่น และรางนำไฟฟ้าตกระดับ

วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2567 เวลา 8.33 น. เกิดเสียงระเบิดดังบริเวณถนนศรีนครินทร์ บริเวณช่วงสถานีศรีนุช ถึงสถานีศรีนครินทร์ 38 รวมถึงมีเศษอะไหล่ตัวยึดรางจ่ายไฟฟ้าหล่นบนทางซ่อมบำรุงตั้งแต่ช่วง สถานีกลันตัน ถึงสถานีศรีอุดม ซึ่งบางส่วนได้หล่นลงบนพื้นถนนทำให้รถยนต์ของประชาชนได้รับความเสียหาย 12 คัน[14] หลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ได้อพยพผู้โดยสารไปยังสถานีศรีนุชตามแผนการอพยพผู้โดยสารก่อนประกาศปิดให้บริการในเวลา 9.00 น. แต่เนื่องจากปรากฎคลิปที่ผู้โดยสารถ่ายระหว่างการอพยพ จึงทำให้เป็นกระแสต่อต้านและวิพากษ์การดำเนินงานของกลุ่มบีทีเอสอย่างหนัก

ต่อมา เอ็นบีเอ็ม ได้ลงพื้นที่สำรวจร่วมกับ รฟม. พบว่าแผ่นเหล็ก (Finger Plate) ที่ติดตั้งระหว่างรอยต่อของทางวิ่ง (Expansion Joint) ได้มีการเลื่อนออกจากตำแหน่ง และเมื่อขบวนรถไฟฟ้าเคลื่อนผ่าน ทำให้แผ่นเหล็กดังกล่าวเคลื่อนตัวไปกระแทกรางจ่ายกระแสไฟฟ้าหลุดออกจากตำแหน่ง[15] สรวุฒิ เนื่องจำนงค์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จึงได้สั่งยุติการให้บริการถึงเที่ยงคืนในวันดังกล่าว[16][17] ต่อมาเอ็นบีเอ็มแถลงถึงผลการสอบสวน พบว่าเกิดจากความประมาทในการซ่อมบำรุงที่ดูแลไม่ทั่วถึง จนทำให้เกิดเหตุดังกล่าวขึ้น เอ็นบีเอ็มจะชดเชยค่าเสียหายให้กับประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุดังกล่าว รวมถึงจะดำเนินการตรวจสอบสภาพการขันทอร์คของนอตที่ยึดแผ่นเหล็ก (finger plate) บริเวณรอยต่อรองรับการขยายตัวเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ (expansion joint) ของคานทางวิ่ง (guideway beam) ทั้งหมด พร้อมทั้งพิจารณาเปลี่ยนนอตบริเวณดังกล่าวทั้งหมดตลอดเส้นทาง และพิจารณาติดตั้งอุปกรณ์ยึดรางนำไฟฟ้าให้มีความมั่นคงแข็งแรง และอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน[18] คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน[19][20]

โดยระหว่างนี้ เอ็นบีเอ็มได้จัดแผนการเดินรถใหม่ โดยช่วงลาดพร้าว-หัวหมาก ให้บริการแบบทางคู่ ช่วงหัวหมาก-ศรีเอี่ยม ให้บริการแบบ Shuttle Train โดยใช้เพียงชานชาลาเดียว และช่วงศรีเอี่ยม-สำโรง ให้บริการแบบทางคู่ พร้อมทั้งปรับลดอัตราค่าโดยสารจากเดิมลง 20% จนกว่าการซ่อมบำรุงจะแล้วเสร็จ

ใกล้เคียง

รถไฟฟ้ามหานคร รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รถไฟฟ้ามหานคร สายนัคราพิพัฒน์ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม รถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำตาล รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเขียวอ่อน รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเขียวเข้ม รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเงิน

แหล่งที่มา

WikiPedia: รถไฟฟ้ามหานคร สายนัคราพิพัฒน์ http://www.mrta.co.th/new_line/AW-MRTA_10_line_bro... http://www.mrta-yellowline.com/ https://www.bangkokbiznews.com/business/926908 https://web.archive.org/web/20130722192152/http://... https://www.dailynews.co.th/news/2411248/ https://kpi-lib.com/elib/cgi-bin/opacexe.exe?op=mm... https://www.businesstoday.co/business/06/10/2020/5... https://www.bangkokpost.com/learning/easy/2598008/... https://mrta-yellowline.com/wp/2-locations-proj-th https://www.alstom.com/press-releases-news/2023/6/...